วงการดนตรีทุกวันนี้ ถูกอิงกับโลกของดิจิตอลมาไม่ต่ำกว่า 20 ปีเข้าไปแล้ว การฟังเพลงในตอนนี้ เดินทางมาถึงยุคที่ Streaming กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
ความสำเร็จปี 2017
ในปีที่ผ่านมา Joox สามารถครองตลาดผู้ให้บริการฟังเพลงไว้ถึง 79% โดย User ของ Joox ที่ใช้ประจำอยู่ที่ 10 ล้านคน จากจำนวนผู้เข้าใช้ทั้งหมดที่ 50 ล้านคน โดย 65% ของ User จะเลือกฟังแบบ Streaming ส่วนอีก 35% เลือกโหลดเพลงมาเก็บแบบ Offline โดยในส่วนกลุ่มผู้ใข้งาน Joox มากที่สุด คือกลุ่มอายุน้อยกว่า 34 ปีลงไป ทำให้ Joox เป็นขวัญใจของวัยเรียน / วัยเริ่มทำงาน โดยการฟังเพลงของกลุ่มลูกค้าหลัก Joox จะไม่เก็บเพลงไว้ ฟังแบบ Streaming เป็นหลัก โดยคนในภาคกลางใช้มากที่สุดที่ 43% แต่ทาง Joox เองก็ยอมรับว่าคนที่เลือกจ่ายเงินเพื่อฟังแบบไม่ติดโฆษณายังมีสัดส่วนที่น้อยอยู่
จุดแข็งที่ผู้ใช้ Joox อย่าง Playlist เพลง สำหรับล่าสุดตอนนี้มีถึง 6 ล้าน Playlist อีกส่วนที่ Joox ภูมิใจมากคือ นี่คือช่องทางที่ทำให้ศิลปิน Hip-Hop / Indy คนไทย สามารถเอาผลงานตัวเองมาเปิดตัว เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นผ่านช่องทางนี้ อีกส่วนหนึ่งที่ผู้ใช้ Joox ให้การตอบรับที่ดีมาก คือการถ่ายทอดสดงานประกาศรางวัลดนตรีของเกาหลี / คอนเสิร์ตเกาหลี ซึ่งในปีที่ผ่านมา บางงานมีผู้ชมสดถึง 600,000 Views เลยทีเดียว
กิจกรรมฝั่ง O2O (Online to Offline) คือ Joox Thailand Music Awards / Joox Thailand Top 100 ที่ข่วยให้ใกล้กลุ่มเป้าหมายมากขึ้น โดยงาน Top 100 เป็นงานขายบัตรงานแรก ทำให้ Joox มีรายได้เพิ่มอีกทาง นอกเหนือจากการขาย Ad หรือ VIP และเนื่องจากกลุ่มผู้ใช้งาน Joox ที่ใหญ่ที่สุด คือนักเรียน / นักศึกษา ทำให้คอนเสิร์ตเล็ก ๆ จัดที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย เกิดขึ้นตลอดปีที่ผ่านมา โดยนำศิลปินไปเล่นหมุนเวียนกว่า 21 ศิลปิน ใน 18 จังหวัด 20 โรงเรียน/มหาวิทยาลัย
ในส่วนการกุศล Joox ทำ World Music Day โดยนำศิลปินกว่า 50 ศิลปิน มาเล่นสดต่อเนื่องกัน 13 ขั่วโมง โดยทุก 1 View มีมูลค่าเท่ากับ 1 บาท ซึ่งตลอดเวลาการแสดง ทำ Views ได้ 500,000 Views ซึ่งได้นำไปมอบให้มูลนิธิเพื่อผู้พิการทางสายตา
ก้าวต่อไปปี 2018
ในปี 2018 ทาง Joox จะยังทำกิจกรรมทุกอย่างที่ทำได้ผลดีในปี 2017 แบบต่อเนื่องเข้มข้นต่อไปเพิ่มเติมสิ่งใหม่ต่อไปนี้
- Joox Fan Space พื้นที่ให้ศิลปินพบปะแฟนเพลงได้ใกล้ชิดมากขึ้น หากเป็นศิลปินหน้าใหม่ ตัวเล็ก ๆ ของวงการ ความนิยมที่เพิ่มขึ้น สามารถแปลงเป็นไอเท็ม เพื่อให้ศิลปินสะสมแล้วเอามาขึ้นเงินเป็นรายได้กับ Joox ได้
- คาราโอเกะ นำเพลงที่มี มาให้บริการแบบคาราโอเกะ และมีการประกวดการร้องเพลงจากผู้ใช้งาน เพื่อให้ทุกคนโหวตกันได้ว่า ใครร้องคาราโอเกะได้เพราะที่สุด (ไตรมาสที่ 2 ปีนี้เป็นต้นไป)
- ไม่ใช่แค่เพลง แต่ Joox เริ่มดึง Content ที่ฟังกันทางวิทยุ อย่างเรื่อง ผี / ดวง / ธรรมะ ฯลฯ มาเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เสริมจากการฟังเพลง โดยนักจัดรายการชื่อดังต่าง ๆ จะเริ่มมาทำร่วมกับ Joox ในอนาคตด้วย
- ทำการตลาดการฟังแบบตอบรับสมาชิก Joox กับเครือข่าย โดยการจ่ายค่าสมาชิกรวมกับค่าโทรศัพท์รายเดือน ซึ่งทำร่วมกับทาง AIS ไปแล้ว และกำลังคุยกับ dtac อยู่
เราแข่งกับตัวเอง
สิ่งที่ Joox ย้ำชัดมากสุดคือ ตัวเองไม่ได้มองบริการเจ้าไหนเป็นคู่แข่ง เพราะบริษัทแม่หลักคือ Sanook มีสินค้าหลักเป็น Content ทำให้ สิ่งที่ Joox มอง คือการเติมความแข็งแกร่งด้าน Content สนับสนุนวงการดนตรีให้มีพื้นที่ มีการทำรายได้ รวมถึงความแข็งแกร่งของ Joox เอง ก็น่าจะทำให้ในอนาคต ตัว Joox เองทำรายได้มากกว่าที่เป็นอยู่เพราะผู้บริโภคสัมผัสได้ว่าการสนับสนุนลิขสิทธิ์ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไป
บรรทัดสุดท้ายนี้ ขอบอกสั้น ๆ แค่ว่า “ขอบคุณที่ช่วยส่งเสริมให้คนไทยใช้ของลิขสิทธิ์เป็นครับ”